Knowledge Management
รายงานการจัดการความรู้ เรื่อง การบูรณาการงานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เข้ากับการเรียนการสอน งานบริการวิชาการ และงานวิจัย
วันที่ 20 เดือน กรกฎาคมพ.ศ. 2562 คณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ได้จัดการความรู้ เรื่อง การบูรณาการงานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เข้ากับการเรียนการสอน งานบริการวิชาการ และงานวิจัย ผู้เข้าร่วมกิจกรรมคือ อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น กิจกรรมประกอบด้วยการถอดบทเรียนและจัดการความรู้การบูรณาการ 4 ด้านในปีการศึกษา 2561

รายงานการจัดการความรู้ เรื่อง การบูรณาการงานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เข้ากับการเรียนการสอน งานบริการวิชาการ และงานวิจัย
รายงานการจัดการความรู้ เรื่อง การทำผลงานวิจัยเพื่อพิมพ์เผยแพร่ ใน TCI ฐาน 1 และ Scorpus
ตามที่คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทริ์น ได้ดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้ด้านการวิจัย จากความเสี่ยงที่พบว่า คณาจารย์ในคณะมีการนำเสนอผลงานวิชาการใน TCI 1 และ Scorpus มีจำนวนน้อย จึงได้จัดโครงการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรม “การวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล : สุขภาวะที่ยั่งยืนของชุมชน ณ ห้องประชุมชั้น 4 มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น บุรีรัมย์ วันที่ 20-21 ธันวาคม 2561” โดยวิทยากรทั้งภายในและภายนอกคณะ ร่วมกับการจัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ภายในคณะ เพื่อส่งเสริมการเขียนผลวานวิจัยของคณาจารย์ในคณะตีพิมพ์ใน TCI ฐาน 1 และ Scorpus เพิ่มขึ้น เป้าหมาย คือ คณาจารย์ในคณะทุกคน

รายงานการจัดการความรู้ เรื่อง การทำผลงานวิจัยเพื่อพิมพ์เผยแพร่ ใน TCI ฐาน 1 และ Scorpus
รายงานการจัดการความรู้ เรื่อง แนวทางการเขียน มคอ. 3 และ มคอ. 4
ตามที่คณะกรรมการจัดการความรู้ คณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทริ์น ได้ดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้ด้านการผลิตบัณฑิต จากความเสี่ยงที่พบว่าคณะมีอาจารย์ใหม่ที่ขาดประสบการณ์การสอนจำนวนมาก และคณาจารย์ในคณะยังขาดความเข้าใจในส่วนของการประเมินผลตามกรอบมาตรฐาน TQF โดยการจัดโครงการเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านการสอน การวัดและการประเมินผลการศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น บุรีรัมย์ จัดขึ้นในวันที่ 27-29 พฤษภาคม 2562” โดย เชิญผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก คือผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล สุวรรณน้อย มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และกำหนดแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดทำ มคอ.3 และ มคอ.4
เป้าหมายของการจัดการความรู้ ได้แก่ คณาจารย์ทุกท่านในคณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทริ์น โดยคณะกรรมการการจัดการความรู้จึงได้จัดกิจกรรมสรุปองค์ความรู้จาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง แนวทางการเขียน มคอ. 3 และ มคอ. 4 ปีการศึกษา 2561 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเขียน มคอ. 3 และ มคอ. 4 ให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน สอดคล้องกับกรอบมาตรฐาน TQF

การจัดการความรู้เรื่อง “การจัดทำ มคอ. ตามกรอบมาตรฐาน TQF”
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (Thailand Qualifications Framework) นิยมย่อว่า ทีคิวเอฟ (TQF)
แนวทางที่ดีในการจัดทํา Curriculum Mapping ในหลักสูตร (มคอ.2) ในการดําเนินการสามารถดําเนินการได้ 2 แบบ
แบบที่ 1 แบบบูรณาการมาตรฐานผลการเรียนรู้กรณีนี้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจะต้องมีความชัดเจนว่า หลักสูตรนี้ต้องการให้ ผู้เรียนเกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้อย่างน้อย 5 ด้าน ตามกรอบ TQF
แบบที่ 2 แบบที่ไม่มีการบูรณาการมาตรฐานผลการเรียนรู้จากรายวิชาต่างๆ กรณีนี้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลกสูตรจะรับมาตรฐานผลการ เรียนรู้จากรายวิชาในหมวดวิชาและจากคณะที่เป็นเจ้าของรายวิชาต่างๆ แล้วนํามารวบรวมเป็นมาตรฐานผลการเรียนรู้ในหลักสูตรโดยไม่มี การปรับปรุงใดๆ ในการเขียนมาตรฐานผลการเรียนรู้ควรเรียงมาตรฐานผลการเรียนรู้ในแต่ละด้านให้ครบถ้วนก่อนว่ามาจากหมวดใดบ้าง เพื่อให้เห็นความซ้ำซ้อน และจะเป็นประโยชน์ต่อการทบทวนมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่เป็นจุดเด่นของบัณฑิตในการปรับปรุงหลักสูตรครั้ง ต่อไป
